วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

การขับรถอย่างถูกวิธีในสภาวะต่างๆ

 การขับรถอย่างถูกวิธีในสภาวะต่างๆ 
     รถติดบนทางชัน ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับรถที่ขับเมื่อรถติดบนทางขึ้นสะพาน มักเกิดปัญหารถถอยหลังขณะจะออกตัว เครื่องดับ สะดุด ควรปฏิบัติดังนี้
  • ดึงเบรคมือไว้ในตำแหน่งเกียร์ว่าง ปล่อยแป้นเหยียบเบรค
  • จะออกรถ(เกียร์ธรรมดา) เข้าเกียร์ 1 มือซ้ายจับเบรคมือ มือขวาจับพวงมาลัย ปล่อยคลัทช์ช้าๆ เหยียบคันเร่งเบาๆ รถทําท่าขยับเคลื่อนไปข้างหน้า แล้วจึงกดปุ่มปลดเบรคมือลง
  • ถ้าเกียร์ auto เข้าเกียร์ค้างไว้พร้อมเหยียบเบรคเมื่อหยุด แล้วปล่อยเบรค เมื่อ่ต้องการเคลื่อนที่เหยียบคันเร่งเบาๆ รถจะเคลื่อนที่ๆไปข้างหน้า
      การขับรถในเวลากลางคืน
  • ไม่ควรขับรถด้วยความเร็วสูง
  • ใช้ไฟสูงถ้าถนนมืดมาก
  • ลดแสงสว่างที่หน้าปัทม์ลง
  • เปลี่ยนเป็นใช้ไฟต่ำเมื่อมีรถสวนมา
      การขับรถในขณะฝนตก
  • ไม่ควรขับรถด้วยความเร็วสูง เพราะถนนเมื่อเปียกน้ำแล้วจะลื่น
  • ไม่ควรขับรถในกรณีที่ฝนตกหนักมาก
      การขับรถในขณะน้ำท่วม
  • ขับลุยน้ำ ในกรณีที่ไม่มีทางหลีกเลื่ยงเท่านั้น
  • ต้องระมัดระวังรถที่สวนมาหรือรถของตนเอง หากวิ่งเร็วอาจทำให้น้ำเข้าห้องเครื่องหรือห้องโดยสารได้
  • ไม่ขับรถลุยน้ำที่สูงกว่าระดับพื้นรถด้านใน เพื่อหลีกเลี่ยงน้ำเข้าห้องเครื่องยนต์ หรืออุปกรณ์ๆไฟฟ้าซึ่งหากเสียหายจะเป็นมูลค่าสูงมาก
  • เมื่อพ้นจากบริเวณน้ำท่วมควรย้ำเบรคหลายๆครั้งเพื่อช่วยให้ผ้าเบรคแห้งตัว
  • เมื่อพ้นระยะน้ำท่วมแล้ว ควรนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจสอบให้ละเอียด

                                     การควบคุมรถในขณะเกิดอุบัติเหตุ
      รถหลุดจากทางวิ่ง
  • อย่าเหยียบเบรคกระทันหัน จนล้อล็อคไถลไปกับพื้นเพราะควบคุมทิศทางรถไม่ได้ เหยียบแล้วปล่อยเมื่อรู้สึกว่าล้อไถล
  • อย่าหักพวงมาลัยกระทันหัน เพราะรถอาจเสียหลักหมุน หรือพลิกคว่ำ คืนพวงมาลัยทันทีที่รู้สึกว่ารถเสียหลัก แล้วจึงหักเลี้ยวใหม่
      มีรถวิ่งสวนเข้ามาในเลน
  • ลดความเร็วลงให้มาก
  • กระพริบไฟสูงเตือนรถที่สวนเข้ามา
  • ชิดขอบทางซ้าย
  • อย่าหลบไปในเลนที่รถสวนมา เพราะบ่อยครั้งคนขับจะรู้ตัวแล้วหักหลบท่ำให้ชนกับเราได้
      มีสิ่งของตกขวางอยู่บนถนน
  • ลดความเร็วลง
  • ของมักใหญ่กว่าที่เห็นจริง อย่าวิ่งทับ
  • อย่าหลบไปในเลนที่รถสวนมา
  • หากต้องวิ่งชนหรือทับ เมือผ่านแล้ว ควรจอดตรวจสอบใต้ท้องรถเช่น คันชัก คันส่ง ท่อเชื้อเพลิง ถังน้ำมัน ยางล้อ เป็นต้น หากเกิดความเสียหายมากให้ติดต่อศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด หรือนำรถเข้าศูนย์บริการให้ตรวจสอบอย่างละเอียด
      สัตว์เลี้ยงขวางทาง
  • ลดความเร็วลง
  • อย่าหลบไปในเลนที่มีรถสวน
  • กดแตรเบาๆ ให้มันหลบ
  • ควรเลี้ยวไปทางด้านของหลังสัตว์ การตัดหน้าจะทำให้ตกใจเตลิดกลับอาจเกิดอันตรายกับรถที่สวนมา
  • อย่าเบรคอย่างรุนแรง ขณะขับด้วยความเร็วสูง และไม่ควรหักหลบอย่างรุนแรงจะทำให้พลิกคว่ำได้
  • ตรึงพวงมาลัยจับให้มั่น
      ยางแตก
  • อย่าเหยียบเบรคอย่างแรง
  • ตรึงพวงมาลัยไว้ เพราะพวงมาลัยจะดึงไปข้างที่ยางแตก หากเป็นล้อหน้า หรือส่ายไปมาหากเป็นล้อหลัง
  • ลดความเร็วลงด้วยการถอนคันเร่ง
  • เปลี่ยนเกียร์ต่ำ
  • เหยียบเบรคเบาๆ พร้อมกับประคองรถเข้าข้างทาง
  • ทำการเปลี่ยนยาง
      เมื่อรถยางแบน
  • ให้ลดความเร็วลงช้าๆรักษาแนวตรงของรถ นำรถเข้าจอดข้างทาง
  • ดับเครื่องยนต์และปิดสวิทช์ไฟฉุกเฉิน
  • ดึงเบรคมือ และเข้าเกียร์ P (สำหรับเกียร์auto) หรือเข้าเกียร์ถอยหลัง(สำหรับเกียร์ธรรมดา)
  • ทำการเปลี่ยนยาง
                   การขับรถให้ประหยัดน้ำมัน และยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์
    การขับรถเพื่อให้ได้ระยะทางที่เพิ่มมากขึ้นต่อน้ำมันหนึ่งลิตร เป็นสิ่งที่สามารถทำได้อย่างง่ายทั้งยังเป็นผลทำให้อายุการใช้งานของเครื่องยนต์ยาวนานยิ่งขึ้น เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย่ทั้งค่าซ่อม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยการปฏิบัติคตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้
  • เติมลมยางให้มีความดันถูกต้องเสมอโดยการตรวจเช็คความดันลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้ง ลมยางอ่อนเกินไป จะกินยางและสิ้นเปลืองเฃื้อเพลิง
  • อย่านำของที่ไม่จำเป็นไปกับรถ น้ำหนักที่บรรทุกไปโดยไม่จำเป็นจะกินกำลังเครื่องยนต์และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น
  • ไม่จำเป็นต้องอุ่นเครื่องนาน ทันทีที่เครื่องเดินเรียบก็ค่อยๆออกรถได้
  • เร่งเครื่องอย่างช้าๆและนุ่มนวล อย่าเร่งออกรุนแรง และเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นโดยเร็ว
  • อย่าติดเครื่องเดินเบานานๆ เมื่อต้องรอคอยนานๆ หรือไม่ได้ขับขี่อยู่ควรดับเครื่องแล้วค่อยๆสตาร์ทใหม่ทีหลัง
  • หลีกเลี่ยงการลากเกียร์และเร่งเครื่องจนรอบจัดเกินไปใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับช่วงความเร็ว และ สภาพถนน
  • อย่าหยุดหรือเบรคโดยไม่จำเป็น กะช่วงเวลาและสัญญาณไฟจราจรให้ดี รักษาระยะจากคนอื่นให้พอสมควร เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตู และ การเบรคหยุดโดยไม่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการจราจรที่หนาแน่นติดขัด
  • อย่าวางพักเท้าบนแป้นเหยียบคลัชท์หรือเบรคซึ่งจะก่อให้เกิดความสึกหรอที่ไม่จำเป็นและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น
  • รักษาความเร็วบนทางหลวงให้พอเหมาะ ยิ่งขับขี่ด้วยความเร็วสูงมากๆ ยิ่งสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น
  • ล้างฝุ่นและโคลนใต้ท้องรถออกให้หมด นอกจากจะเป็นการช่วยลดน้ำหนักยังป้องกันสนิมด้วย
  • ระมัดระวังศูนย์ล้อให้ถูกต้องเสมอ ระวังอย่าให้ชน หรือกระทบกระแทกจนศูนย์ล้อหน้าเสีย ซึ่งนอกจากจะเป็นผลให้ยางสึกหรอผิดปกติแล้ว ยังเพิ่มภาระให้กับเครื่องยนต์ ทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไปโดยเปล่าประโยชน์ด้วย
  • หมั่นปรับตั้งเครื่องยนต์ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ จะทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ดีอยู่เสมอ ก็จะไม่สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
                                     การตรวจเช็ครถก่อนเดินทางไกล 
การตรวจเช็คที่ไม่เสียเวลามากนักก่อนเดินทาง จะช่วยให้มั่นใจในการขับขี่
    ตรวจรถภายนอก
  • ยาง ตรวจความดันลมยาง ดอกยาง และรอยฉีกขาด
  • ตรวจดูว่าขันแน่นดี แต่ก็ไม่แน่นจนเกินไปจนคลายออก ไม่ได่ด้วยตัวเอง
  • รอยรั่วซึม ตรวจดูว่ามีร่องรอยน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรค หรือ น้ำรั่วซึมจากใต้ท้องรถ
  • ยางปัดน้ำฝน ทดลองปัดดู
  • ไฟส่องสว่าง ตรวจดูไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟเลีย้วหรืออื่นๆรวมทั้งระดับไฟหน้าด้วยว่าเป็นปกติทั้งหมด
    ตรวจภายในรถ
  • ยางอะไหล่และแม่แรง ตรวจเช็คลมยาง และให้แน่ใจว่าแม่แรงและด้ามขันใช้งานได้ตามปกติ
  • เข็มขัดนิรภัย ตรวจเช็คว่าหัวเข็มขัดสามารถลอ็คได้เรียบร้อย
  • แตร ให้แน่ใจว่าดังดี
  • แผงควบคุมและอุปกรณ์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าทำงานเป็นปกติ และที่ปัดน้ำฝน ปัดได้เรียบร้อยสม่ำเสมอ
  • เบรก เช็คระยะฟรีขาเบรคอยู่ในค่ากำหนดหรือไม่
  • ฟิวส์สำรองที่เตรียมไว้ต้องมีขนาดค่ากระแสใช้ได้ตามที่กำหนดที่แผงฟิวส์
    ตรวจใต้ฝากระโปรงหน้า
  • ระดับน้ำหล่อเย็น ควรจะมีอยู่ถึงระดับสูงสุดในถังพักสำรอง
  • หม้อน้ำและท่อยาง ควรดูว่าด้านหน้าหม้อน้ำหมดจดไม่มีเศษวัสดุ หรือใบไม้ติดอยู่ ดูท่อยางว่ามีรอยแยกเปื่อย มีรอยฉีกขาดหรือหลวม
  • สายพานขับต่างๆ ต้องไม่มีรอยแตก เลอะน้ำมันหล่อลื่น และความตึงสายพานอยู่ในค่ากำหนด
  • แบตเตอรี่และสายไฟ ตรวจดูและเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนดดูเปลือกแบตเตอรี่ว่ามีร่องรอยเสียหายหรือไม่ ดูขั้วต่อและสายไฟว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่
  • ระดับน้ำมันเบรคและคลัชท์ ตรวจดูว่าระดับน้ำมันเบรคและคลัทช์อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
  • ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจดูว่าท่อน้ำมันมีการรั่ว หลุดหรือไม่
                              ถ้าเครื่องยนต์ดับในขณะขับรถควรทำอย่างไร
  • เปิดสวิทช์สัญญาณไฟฉุกเฉิน
  • ปลดเกียร์มาอยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง
  • ค่อยๆลดความเร็วลง รักษาแนวตรงแล้วหลบเข้าข้างทางอย่างระมัดระวังในที่ที่ปลอดภัย
  • ลองสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่อีกครั้ง
    การที่เครื่องยนต์ดับกระทันหัน อาจมีสาเหตุมาจากหัวข้อดังนี้
  • น้ำมันหมดหรือระบบจ่ายน้ำมันเกิดขัดข้อง
  • ระบบการจุดระเบิดนั้ามันเชื้อเพลิงขัดข้องในกรณีเครื่องยนต์เบนซิน
  • ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์เกิดขัดข้อง ทําให้เครื่องยนต์ร้อนจัดเกินกว่าที่จะทำงานต่อไปได้
  • สายพานที่ขับเคลื่อนระหว่างเพลาข้อเหวี่ยง และเพลาราวลิ้น ( TIMING BELT) ขาด
    หากท่านที่ไม่สามารถตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขได้ด้วยตนเองให้ติดต่อศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด
                   ทำอย่างไรเมื่อเครื่องร้อนจัด (over heat) ในขณะขับขี่ 
     โดยปกติอุณหภูมิของเครื่องยนต์หรืออุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น จะอยู่ที่ประมาณ 85 องศาเซลเซียส-90 องศาเซลเซียส และเข็มวัดอุณหภูมิที่แสดงบนแผงหน้าปัทม์จะอยู่ที่ระดับไม่เกินครึ่งหนึ่งของมาตรวัด ( สูงไม่เกินกึ่งกลางระหว่างตัว C และ H ) ถ้าเมื่อใดก็ตามเข็มวัดอุณหภูมิสูงจนถึงตัว H นั่นย่อมแสดงว่าเกิดความผิดปกติในระบบระบายความร้อน (ยกเว้นมาตรวัดอุณหภูมิเสีย)
    การที่เครื่องยนต์อุณหภูมิสูงผิดปกติ อาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุดังนี้
  • น้ำหล่อเย็นภายในระบบไม่เพียงพอสำหรับการระบายความร้อน เช่น เกิดการรั่วในระบบหล่อเย็น
  • ปั้มน้ำชำรุดหรือสายพานขับปั้มน้ำขาด
  • วาล์วน้ำไม่เปิดตามอุณหภูมิที่กำหนด
  • พัดลมระบายความร้อนไม่ทำงาน หรือทำงานผิดปกติ
  • รังผึ้งหม้อน้ำมีเศษผงฝุ่นอุดตันตามครีบระบายความร้อน
    เมื่อพบว่าเครื่องยนต์ร้อนจัดให้ปฏิบัติดังนี้
  • นำรถเข้าจอดข้างทางแล้วดับเครื่องยนต์
  • เปิดฝากระโปรงหน้ารถเพื่อให้ความร้อนระบายออกจากเครื่องยนต์ให้เร็วที่สุด อย่าใช้น้ำราดเพราะจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย ถ้าในกรณีมีไอน้ำพุ่งออกมาจากฝากระโปรงหน้ารถ อย่าเพิ่งเปิดฝากระโปรงหน้ารถ ให้รอจนไม่มีไอน้ำพุ่งแล้วจึงค่อยเปิด
  • ให้รอจนเครื่องยนต์อุณหภูมิลดลงแล้วจึงเปิดฝาหม้อน้ำอย่าเปิดฝาหม้อน้ำทันที เพราะภายในหม้อน้ำยังร้อนจัด และมีแรงดันสูงน้ำอาจจะพุ่งขึ้นมา ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและควรสวมถุงมือหรือใช้ผ้าหนาๆในระหว่างเปิดฝาหม้อน้ำ
  • เมื่อเครื่องยนต์เย็นแล้ว ให้เติมน้ำเข้าไปในหม้อน้ำ อย่าเติมในขณะร้อนจัด
  • ให้ค่อยๆเติมน้ำอย่างช้าๆ แล้วติดเครื่องด้วยรอบเดินเบา เมื่อเติมน้ำเต็มระบบแล้ว ทิ้งสักพักหนึ่ง แล้วดูสิ่งผิดปกติ
  • ถ้าไม่มีสิ่งผิดปกติ ก็น้ำรถไปเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียดอีกครั้งหนี่ง แต่ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ให้ติดต่อศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด
                                                     การใช้เกียร์อัตโนมัติ 
                       ตำแหน่งและหน้าที่ของแต่ละเกียร์เพื่อผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ได้ถูกต้อง
" P" จอด และสตาร์ทเครื่องยนต์ ตำแหน่งนี้ใช้เมื่อจอดรถ ซึ่งจะล็อคเกียร์ได้ ป้องกันไม่ให้รถเลื่อนไหล
"R" ถอยหลัง ตำแหน่งนี้จะทำให้รถเคลื่อนที่ถอยหลัง 
"N"
 เกียร์ว่าง เมื่ออยู่ในตำแหน่งนี้ เครื่องยนต์จะไม่เชื่อมต่อกับล้อรถทำให้รถเลื่อนไหลไปมาได้ และสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ติดได้ 
"D"
 ขับ เมื่อเข้าในตำแหน่งนี้รถจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อคุณเหยียบคันเร่ง ขณะที่รถแล่นเร็วขึ้น เกียร์จะเปลี่ยนขึ้นเองอัตโนมัติ และเมื่อลดความเร็ว ระดับเกียร์จะเปลี่ยนเองตามความเร็ว
"2" เกียร์ 2 ในตำแหน่งนี้ เกียร์จะเปลี่ยนเฉพาะเกียร์ 1และ 2 เท่านั้น เมื่อต้องการให้เครื่องยนต์ช่วยเบรค หรือต้องการขับขี่ที่ใช้แรงฉุดลากมาก เช่น การขับขึ้นเนิน
"L"เกียร์ต่ำ ในตำแหน่งนี้เกียร์จะทำงานที่เกียร์ 1 อย่างเดียว ใช้เมื่อต้องการการฉุดมากกว่าเกียร์ 2 หรือต้องการให้เครื่องยนต์ช่วยเบรคมากกว่าเกียร์ 2
                                  วิธีการสตาร์ทเครื่องยนต์
    ก่อนสตาร์ท
  1. ดึงเบรคมือ
  2. ปิดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น
  3. มอเตอร์สตาร์ท จะไม่ทำงาน ถ้าคันเกียร์ไม่อยู่ในตำแหน่ง " P" หรือ "N"
    3.1กรณีที่เครื่องยนต์ดับ และรถจอดอยู่กับที่
    -ให้สตาร์ทเครื่องยนต์ขณะที่คันเกียร์อยู่ตำแหน่ง " P"
    3.2 กรณีที่เครื่องดับแต่รถกำลังเคลื่อนที่
    -ให้เลื่อนคันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง"N" อย่าเลื่อนคันเกียร์มาในตำแหน่ง " P"ในขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม เพราะจะทำให้กลไกภายในเกียร์เสียหายอย่างมากและสูญเสียการควบคุมรถได้
  4. ให้เหยียบแป้นเบรคค้างไว้ จนกว่าจะพร้อมขับเคลื่อนรถออกจากบริเวณที่จอดอยู่
    การขับขี่ตามปกติ
  1. ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ตำแหน่ง เกียร์ต้องอยู่ในตำแหน่ง " P" หรือ "N"
  2. เหยียบเบรคไว้และเลื่อนคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง"D" ในตำแหน่ง " D " เกียร์อัตโนมัติ จะเข้าเกียร์ให้เหมาะสมกับ สภาพการขับขี่มากที่สุด เช่น การลากจูง การไต่เขา และอื่นๆ
  3. ปลดเบรคมือและปล่อยแป้นเบรค แล้วค่อยๆเหยียบคันเร่งช้าๆสำหรับการออกตัวอย่างนิ่มนวลระวังอย่าเหยียบคันเร่ง ในขณะเลื่อนเกียร์
    เครื่องยนต์ช่วยเบรค  ในการใช้แรงจากเครื่องยนต์เพื่อการช่วยเบรคให้เปลี่ยนเกียร์ตามที่อธิบายต่อไปนี้
  1. เปลี่ยนคันเกียร์มาที่ "2" ขณะที่ความเร็วรถต่ำกว่า 94 กม./ชม. (แต่ละรุ่นไม่เท่ากัน) เกียร์จะลดมายังเกียร์ 2 ซึ่งเครื่องยนต์จะช่วยเบรคมากขึ้น
  2. เปลี่ยนคันเกียร์มาที่" L " ขณะที่ความเร็วต่ำกว่า 43 กม/ชม. ( แต่ละรุ่นไม่เท่ากัน) เกียร์จะลดลงมาเกียร์ 1 ซึ่งเครื่องยนต์จะมีแรงช่วยเบรคมากที่สุด
    ควรระมัดระวังในการลดเกียร์บนพื้นถนนที่ลื่น การลดเกียร์อย่างทันทีทันใด อาจทำให้รถเสียหลัก และลื่นไถลได้
    การถอยหลัง
  1. 1.หยุดรถให้สนิท
  2. 2.เหยียบเบรคไว้และเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง"R"
  3. 3.ปล่อยแป้นเบรคและเหยียบคันเร่งอย่างช้าๆ
    การจอดรถ
  1. 1.หยุดรถให้สนิท
  2. 2.ดึงเบรคมือให้สุด
  3. 3.เหยียบเบรคไว้และเลื่อนคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง "P"
    -อย่าหยุดรถบนทางชันนานๆ โดยการเหยียบคันเร่ง เพราะจะทำให้เกียร์เกิดความร้อนสูงได้ ควรใช้วิธีเหยียบเบรคหรือดึงเบรคมือ
การโยกรถเมื่อรถติดหล่ม 
ให้เหยียบเบรคและเลื่อนคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง"L" ขณะทำการโยกรถ เพื่อให้รถที่ตกหล่มสามารถขึ้นมาได้ ต้องแน่ใจว่าไม่มีคนหรือสิ่งกีดขวางอยู่บริเวณนั้น เนื่องจากเมือ่รถยนต์หลุดจากหลุม จะพุ่งตัวอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสิ่งกีดขวางอยู่ได้
การลากจูงรถเกียร์อัตโนมัติ
ถ้าจําเป็นต้องลากจูงรถต้องยกล้อที่ขับเคลื่อนให้ลอยพ้นพื้น หากทําไม่ได้ ก่อนลากจูงให้ปลดเบรคมือ และเข้าเกียร์"N" และสวิทช์กุญแจต้องอยู่ในตําแหน่ง "ACC" (ควรใช้เครื่องยนต์ทํางานขณะลากจูงรถถ้าเป็นไปได้) ควรลากด้วยความเร็วไม่เกิน 30 กม/ชม และต้องหยุดพักทุกๆ 80 กม. เพื่อหลีกเลียงความเสียหายของเกียร์
 
               เครื่องยนต์ระบบหัวฉีดสามารถล้างบริเวณห้องเครื่องยนต์ได้หรือไม่      เครื่องยนต์ระบบหัวฉีดอีเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไปนั้น ภายในห้องเครื่องยนต์ จะมีอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ ตัวรับสัญญาณและขั้วต่อสัญญาณหลายจุด ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ หากมีน้ำรั่วซึมเข้าไปในระบบ อาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย กับชิ้นส่วนนั้น หรือทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ ดังนั้นถ้าท่านต้องการที่จะทำความสะอาดภายในห้องเครื่องยนต์ ก็ สามารถทำได้ แต่ไม่ควรที่จะใช้น้ำที่มีแรงดันสูง ในกรณีที่เครื่องยนต์สกปรกมาก และต้องการใช้น้ำที่มีแรงดันสูงชำระ คราบสกปรก ควรใช้ถุงพลาสติกคลุมชิ้นส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ให้มิดชิด เช่น ชุดจายจ่าย กล่องฟิวส์และจุดขั้วต่อของสายไฟ
 
                   เปิดไฟหน้าทิ้งไว้จะมีผลอย่างไร และมีผลต่อเครื่องยนต์หรือไม่      ในกรณีที่ท่านจอดรถและลืมปิดไฟหน้า จะไม่มีผลเสียต่อระบบการทำงานของเครื่องยนต์ แต่จะทำให้กระแสไฟใน แบตเตอรี่ถูกจ่ายไฟตลอดเวลา ดังนั้นหากไฟหน้าถูกเปิดทิ้งไว้นานอาจจะมีผลทำให้กระแสไฟในแบตเตอรี่ไม่เพียงพอใน การสตาร์ทเครื่องยนต์
     ถ้าพบปัญหาดังกล่าว วิธีที่ดีที่สุด คือ การพ่วงแบตเตอรี่จากรถคันอื่นเพื่อช่วยในการสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติด เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว อัลเทอร์เนเตอร์จะทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟเข้าแบตเตอรี่ ซึ่งท่านควรจะขับรถไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เพื่อให้แบตเตอรี่ เก็บกระแสไฟได้เพียงพอต่อการสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งต่อไป
     หากรถของท่านเป็นเกียร์ธรรมดา สามารถที่จะกระชากให้เครื่องยนต์ติดได้ แต่ถ้าหากรถของท่านเป็นเกียร์อัตโนมัติ ไม่สามารถทำลักษณะเช่นนี้ได้ ต้องใช้วิธีการพ่วงแบตเตอรี่แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
                     ในรถเกียร์ธรรมดา หากแผ่นคลัทช์หมด เราจะทราบได้อย่างไร      เมื่อแผ่นกดคลัทช์สึกหรอจนเกีอบหมด ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่า " คลัทช์ลื่น" สังเกตุได้ก็คือ เมื่อเราปล่อยคลัทช์ และเร่งเครื่องเพื่อออกรถรอบเครื่องจะสูงขึ้น แต่รถไม่ขยับหรือขยับช้าๆ คล้ายๆกับไม่มีแรง และ หากแผ่นคลัทช์หมดจริงๆ ก็จะมีหมุดทองเหลืองที่ติดอยู่บนแผ่นคลัทช์ ซึ่งเมื่อแผ่นคลัทช์สึกหรอจนถึงตัวหมุด ล้อช่วยแรงจะเสียดสีกับตัวหมุด ทำให้เกิดเสียงดัง เป็นการเตือนให้ผู้ใช้รถทราบว่าแผ่นคลัทช์หมดแล้ว ถ้าปล่อยไว้นานๆ จะทำให้หน้าสัมผัสของล้อช่วยแรง และแผ่นกดคลัทช์เป็นรอย เนื่องจากการเสียดสีได้ ส่วนแผ่นคลัทช์จะสึกหลอเร็วหรือช้า สาเหตุอาจจะมาจากการขับขี่ด้วย
                  อาการวิ่งกินซ้าย และกินขวาของรถยนต์เกิดจากสาเหตุใด      ในสภาพถนนของเมืองไทยหลายๆแห่ง จะมีลักษณะลาดเอียงลงด้านซ้าย ทำให้รู้สึกว่ารถกินซ้ายได้ หากถนนราบเรียบดีแต่เกิดอาการวิ่งกินด้านใดด้านหนึ่งอาจเกิดจากค่ามุมล้อไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด นอกจากนี้สภาพของยางรถยนต์ เช่น ยางต่างขนาด ลมยางที่ไม่เท่ากัน ยางที่อายุและความสึกหรอต่างกัน ตลอดทั้งโครงสร้างที่ต่างกันของยางรถยนต์แต่ละแบบ หรือยี่ห้อ ก็มีส่วนทำให้รถกินซ้ายหรือกินขวาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากท่านมั่นใจว่ารถของท่านมีอาการกินซ้ายหรือกินขวาควรนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อทำการตรวจสอบและแก้ไข
                  การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ควรทำอย่างไรให้ปลอดภัย
  • อย่าสูบบุหรี่ หรือทำงานใดๆที่เกิดประกายไฟใกล้กับแบตเตอรี่
  • ทำการตรวจเช็คแรงเคลื่อนของแบตเตอรี่ เพราะแบตเตอรี่ขนาด 6v. หรือ 24v. ไม่สามารถนำมาพ่วงกับแบตเตอรี่ขนาด 12 v. ได้ จะทำให้เกิดระเบิดขึ้นได้
  • ต้องแน่ใจว่ารถไม่ได้สตาร์ทเครื่อง
  • ให้การตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่ โดยดูจากที่วัดของแบตเตอรี่ หรือใช้ที่วัดความถ่วงจำเพาะ(HYDROMETER) โดยดูจากสีของที่วัดเพื่อแสดงประจุไฟของแบตเตอรี่
    ถ้าเป็นสีเขียวแสดงว่าระจุไฟฟ้าเต็ม
    ถ้าเป็นสีน้ำตาล หรือสีดำ แสดงว่าประจุไฟหมด สมควรชาร์ทแบตเตอรี่
    ถ้าเป็นสีเหลือง แสดงว่าสมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้แล้ว
  • ต้องมั่นใจว่าขั้วแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบสะอาด และถ้าต้องการที่จะทำความสะอาดให้ใช้น้ำร้อนราดที่ขั้วแบตเตอรี่ได้
  • อย่าให้สายพ่วงแบตเตอรี่โดนกัน
  • ขั้นแรกนำสายพ่วงแบตเตอรี่สีแดงหรือบวกต่อเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่ที่ต้องการพ่วงก่อน แล้วจึงต่อกับแบตเตอรี่ที่ด้านบวก
  • ต่อไปนำสายพ่วงแบตเตอรี่สีดำหรือลบต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่ดี แล้วสุดท้ายต่อสายพ่วงสีดำกับขั้วลบแบตเตอรี่ที่ต้องการพ่วง
  • ติดเครื่องยนต์ที่แบตเตอรี่ดี เพื่อเดินเครื่องรอบเดินเบาสักพัก
  • อย่าเปิดไฟหน้าในการสตาร์ทเครื่องยนต์ เพราะกำลังไฟจะตก ทำให้เกิดความเสียหายกับรถยนต์ที่ใช้คอมพิวเตอร์
  • สตาร์ทเครื่องยนต์ที่แบตเตอรี่ไม่ดี เมื่อเครื่องติดให้เอาสายพ่วงแบตเตอรี่ออก ในลำดับย้อนกลับกับการต่อ
  • เมื่อทำการพ่วงแบตเตอรี่เส็จแล้วควรเร่งเครื่องไว้ที่ 2000 รอบ แล้วทำการตรวจสภาพของแบตเตอรี่ด้วย
                 วิ่งไปในระยะทางที่เท่าไร จึงสมควรที่จะเปลี่ยนยางใหม่      โดยทั่วไปสามารถวิ่งได้ถึงระยะทาง 50000 กม. ซึ่งต้องขึ้นกับการขับขี่ ผิวถนน แรงดันลมยาง การบำรุงรักษา และการสลับยาง ซึ่งสามารถตรวจเช็คสภาพของดอกยาง โดยพิจาราณาตัวบ่งชี้ความสึกหรอของยาง ถ้ายางถึงจุดหมดสภาพสมควรเปลี่ยนยาง ยางของรถบางยี่ห้อจะมีจุดบอกสภาพของดอกยางอยู่ด้วยว่า ถึงเวลาควรเปลี่ยนยางหรือ ยังโดยดูจาก จุดหมดสภาพในร่องของดอกยาง เมื่อยางสึกหรอจนเหลือดอกยางลึกเพียง 1.6 มม. หรือน้อยกว่า ถ้าสึกหรอเป็นแนวมากกว่า 2 แนวขึ้นไปควรเปลี่ยนยาง ถ้าดอกยางตื้นมากก็ต้องเสี่ยงกับการลื่นไถลมาก
                 มีวิธีป้องกันรถอย่างไร กับการใช้งานสำหรับรถใหม่
    สำหรับรถใหม่ในช่วง 1000 กม. แรก ควรปฏิบัติดังนี้
  • ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ควรอยู่ระหว่าง 2000-4000 รอบ/นาที
  • หลีกเลี่ยงการสตาร์ทเครื่องยนต์โดยการเหยียบคันเร่งสุด
  • หลีกเลี่ยงการเบรคอย่างรุนแรงหรืกระทันหันที่ 300 กม. แรก
  • ไม่ควรขับรถช้า ในขณะเข้าเกียร์สูงของรถเกียร์ธรรมดา
  • ไม่ควรขับรถในเกียร์เดียวกันไปในระยะทางยาวๆ ทั้งในความเร็วสูงและความเร็วต่ำ
  • ไม่ควรนำรถไปลากในช่วง 800 กม.แรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น