วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รถยนต์ไฮโดรเจน คันแรกของไทย วิ่งฉิว…ไม่ง้อน้ำมัน รักษาสิ่งแวดล้อม

รถยนต์ไฮโดรเจน คันแรกของไทย วิ่งฉิว…ไม่ง้อน้ำมัน รักษาสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ทุก ๆ ประเทศ ทั่วโลกกำลังคิดค้นพลังงานทดแทนอย่างขะมักเขม้น ด้านประเทศไทยของเราก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนต่างระดมความคิดในการหาทาง ออกเพื่ออนาคต…
และแล้วความพยายามก็เป็นผล เมื่อคนไทยสามารถ ผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากไฮโดรเจนได้เป็นผลสำเร็จ โดยมี พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ เป็นหัวหน้าทีมโครงการวิจัยและพัฒนารถยนต์พลังงานไฮโดร เจนที่แยกจากน้ำ และทีมวิจัยอีก 14 ชีวิต ภายใต้ บริษัท คลีนฟูเอล เอ็นเนอร์ยี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
hydrogen-power-car-1อวดสายตาผู้คนไปเมื่อวันก่อนที่ทำเนียบ ก่อนการประชุม ครม. โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ความสนใจและทดลองขับรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงคันแรก ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยขนาด 4 ที่นั่ง ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สร้างความฮือฮาได้ไม่น้อย..
เส้นทางของรถยนต์คันนี้มีความเป็นมาอย่างไร หัวหน้าทีมวิจัยวัย 75 ปี แต่ยังมีไฟอยู่ เล่าให้ฟังว่า ใช้เวลาในการคิดค้นกว่า 7 ปี ตั้งแต่สมัยที่น้ำมันเริ่มมีราคาสูงขึ้น จากการศึกษาเทคโนโลยีของต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างประเทศแคนาดามี การทดลองในรูปแบบต่าง ๆ และสะสมความรู้เอาไว้ รวมทั้ง มีทีมงานที่ทุ่มเทตั้งใจทำงานกันทุกคน
จนมาเริ่มลงมือทำอย่างจริงจังหลังจากที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ศ.ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้ความสนใจและให้งบประมาณสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ จำนวน 14 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา
หัวใจในการขับเคลื่อนของรถยนต์ไฮโดรเจนอยู่ที่ เซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งประกอบไปด้วยแผ่นเยื่อบาง ๆ ใส ๆ เหมือนแผ่นกันแสงคล้ายฟิล์มในรถยนต์ เรียกว่า MEA ที่ย่อมาจาก Membrane Electrode Assem bly เรียกเป็นภาษาไทยว่า เยื่อแลกเปลี่ยนโปรตรอน โดยทั้ง 2 ด้านของ MEA จะประกอบด้วยแผ่นไบโพลา (Bipola Plate) ที่ทำจากแกร์ไฟต์ ประกอบเรียงกันเป็นเซลล์เชื้อเพลิง 1 สแตค (Stack) โดยแผ่นไบโพลา จะทำหน้าที่ส่งไฮโดรเจนเพื่อเข้า ไปแยกที่ MEA ให้เป็นไฟฟ้า ไปยังมอเตอร์และทำหน้าที่รวมกับออกซิเจนทำให้เกิดเป็นน้ำออกมา
“เมื่อไฮโดรเจนผ่านเข้ามาจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นโดยอาศัยแผ่นไบโพลาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้เกิดอิเล็ก ตรอนอิสระที่เป็นกระแสไฟฟ้าเคลื่อนผ่านตัวนำไฟฟ้าส่งไปยังมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ และเมื่ออิเล็กตรอนไหลวน ครบวงจรจะกลับมารวมกับไฮโดรเจนประจุบวกและออกซิเจนที่อยู่ในอากาศเกิดเป็นน้ำออกมา ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่เกิดมลพิษและก่อให้เกิดเสียงดังของเครื่องยนต์แต่อย่างใด”
พล.อ.ท.มรกต กล่าวถึงประสิทธิภาพของรถให้ฟังว่า มีการติดตั้งมอเตอร์ให้ขับเคลื่อนเพลาล้อแทนเครื่องยนต์ โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 8 กิโลวัตต์ ที่ติดตั้งอยู่ ส่วนหน้ารถ ลักษณะตัวรถขึ้นรูปจากโครงเหล็ก และตัวถังหุ้มด้วยไฟเบอร์กลาส มีที่นั่งเป็นเบาะหนัง
hydrogen-power-car-2
“โดยรถจะใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 4 กิโลวัตต์ จึงมีกระแสไฟฟ้าเหลือพอที่จะนำไปใช้กับระบบทำความเย็น และเครื่องเสียงภายในรถอีกด้วย และบรรจุไฮโดรเจน 900 ลิตร น้ำหนัก 70 กรัม ใส่ถังไว้ด้านหลังของตัวรถ สามารถวิ่งได้ระยะทาง 40 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 20-30 นาที จะต้องมีการเติมไฮโดรเจนใหม่อีกครั้ง ซึ่งการขับเคลื่อนของรถไฮโดรเจนจะวิ่งเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับพลังงานของมอเตอร์ที่ใส่เข้าไป สำหรับรถไฮโดรเจนคันนี้จะมีอายุการ ใช้งานได้ประมาณ 4 ปี เพราะเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตรอนจะเสื่อมต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ แต่แผ่นไบโพลายังใช้ได้อยู่”
ด้านแหล่งที่มาของไฮโดรเจนนั้น เฉพาะที่นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งมีโรงงานทำแก้ว โรงงานเม็ดพลาสติก โรงงานแยกแก๊ส มีการปล่อยไฮโดรเจนรวมกันแล้วชั่วโมงละประมาณ 20 ตัน ทิ้งไปในอากาศ ไม่มีการนำมาใช้หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสามารถนำมากักเก็บไว้ใช้กับรถไฮโดรเจนได้อย่างน้อยกว่าแสนคัน
รถยนต์ไฮโดรเจนคันนี้ ทำให้ไทยเป็นประเทศที่ 6 ของโลก ที่สามารถผลิตออกมาใช้งานได้จริงบนท้องถนน หลังจากที่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น และจีน ผลิตสำเร็จมาแล้ว
“หากมีการนำมาใช้ใน รถยนต์ทั่วไปเพื่อขับเคลื่อนบน ท้องถนน จำเป็นต้องมีการติด ตั้งตัวถังไฮโดรเจนให้บรรจุก๊าซไฮโดรเจนได้มากขึ้นสำหรับป้อนเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อขับเคลื่อนเป็นพลังงานไฟฟ้าในระยะทาง ที่ไกลขึ้น ยอมรับว่ารถยนต์ไฮโดรเจนคันนี้มีต้นทุนการผลิตรวมแล้วประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง แต่หากในอนาคตภาครัฐมีการสนับสนุนให้เป็นพลังงานทางเลือกที่ต้องศึกษาพัฒนาต่อไป เชื่อว่า ต้นทุนการผลิตจะลดลง”
หลังจากที่ผลิตรถยนต์ ไฮโดรเจน ขนาด 4 ที่นั่งได้เป็นผลสำเร็จแล้ว มีการต่อยอด เพิ่มขึ้นโดย นายประสิทธิ์ โพธสุธน ประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและ โทรคมนาคม วุฒิสภา มีข้อสรุปว่า รถยนต์ไฮโดรเจนยังเป็นเทคโนโลยีใหม่และต้นทุนยังแพงอยู่ จึงมีแนวคิดในการสร้างเป็นรถประจำทางหรือรถเมล์สาธารณะ ขนาด 20 ที่นั่งขึ้น เพื่อให้บริการประชาชนน่าจะดีกว่า จึงมีการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและ โทรคมนาคม ขึ้น โดยมี ดร. นิลวรรณ เพชระบูรณิน เป็นประธาน และได้งบประมาณ ในการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 20 ล้านบาท
“ตอนนี้อยู่ในขั้นตอน การผลิตเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 11 กิโลวัตต์ เพื่อนำมาใช้กับ รถประจำทาง ขนาด 20 ที่นั่ง จำนวน 2 คัน โดยใช้คันละ 3 สแตค มีต้นทุนสแตคละประมาณ 3 ล้านบาท ฉะนั้นต้นทุนของรถอยู่ที่เกือบ 10 ล้านบาท ราคานี้เป็นของเทคโนโลยีใหม่ที่ต้นทุนยังสูงอยู่ แต่เมื่อไหร่ที่มีเทคโน โลยีมารองรับมากกว่านี้ราคาแผงเซลล์เชื้อเพลิงอาจลดลงอยู่ที่ราคาประมาณล้านกว่าบาทต่อคัน ด้านตัวรถต้นทุนอยู่ที่ 1 ล้านบาท จึงถือว่ารถเมล์ 1 คัน ตกอยู่ที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เมื่อติดตั้งไฮโดรเจนด้านบนของตัวรถจะอยู่ที่ราคา 5 ล้านบาท ซึ่งราคารถเมล์ที่ใช้กันอยู่นี้ก็ อยู่ที่ราคาประมาณนี้ แต่ก่อมลพิษและเสียงดัง ถ้าน้ำมันขึ้นก็เก็บค่าโดยสารเพิ่มอีก แต่รถเมล์ไฮโดรเจนไม่ส่งผลกระทบ ดังกล่าว”
รถเมล์ไฮโดรเจนจะแตกต่างจากรถเมล์ทั่วไปคือ มี 6 ล้อ ด้านละ 3 ล้อ มี 2 เพลา เพลาละ 8 กิโลวัตต์ รวมเป็น 16 กิโลวัตต์ เพื่อให้ขับได้แรงขึ้น เร็วขึ้น และมีสมรรถนะสูงขึ้น วิ่งด้วยความเร็ว 60 กม.ต่อชั่วโมง ที่เลือกรถขนาด 20 ที่นั่ง เพราะต้องการให้เกิดการคล่องตัวในการใช้งาน หากโครงการผ่านการพิจารณางบประมาณ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน ในการปรับปรุงให้สมบูรณ์ออกใช้งานได้จริง เพราะตัวรถเมล์ไม่ได้มีส่วนประกอบที่ซับซ้อนแต่อย่างใด
ส่วนด้านสถานีเติมไฮโดรเจนและเรื่องกฎหมายรองรับการผลิต รวมทั้งการนำมาใช้งานจริงบนท้องถนน คงเป็นเรื่องที่ทางรัฐบาลต้องพิจารณาเป็นขั้นตอนต่อไป
พล.อ.ท.มรกต ฝากความหวังไว้ว่า “เมื่อทำเป็นรถเมล์ไฮโดรเจนออกมาได้แล้วใช้งานได้จริง อยากให้รถต้นแบบทุกคัน ถูกเผยแพร่วิทยาการในส่วนนี้ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีความสนใจ เพื่อจะได้ต่อ ยอดในส่วนต่าง ๆ ต่อไปมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาให้ดีขึ้น ราคาต้นทุนจะได้ถูกลง โดยอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนจะได้เป็นความรู้ที่มีการต่อ ยอดกันต่อไปในเชิงพาณิชย์และที่สำคัญเป็นการสร้างงานให้กับคนไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย”
ผลงานชิ้นโบแดงนี้ ช่วยสร้างศักยภาพให้กับประเทศ และคนไทยไปแล้วในสายตาของ ชาวโลก คงเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากขาดการสนับสนุนในเชิงสร้างสรรค์และจริงใจ!.
จุฑานันทน์ บุญทราหาญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น