วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แนะนำการใช้ และปรับแต่ง WAMP เพื่อความสุดยอด ของ Server จำลอง

หลังจากที่เราลง WAMP เรียบร้อย ตามบทความแนะนำการติดตั้ง WAMP แล้วนะครับ ก็ยังต้องมีการปรับแต่งอีกเล็กน้อย เพื่อให้สุดๆ แต่ในความเป็นจริงก็สามารถใช้งานได้ทันทีนั่นล่ะครับ ไม่ต้องปรับ ไม่ต้องแต่ง แต่เพื่อความ perfect เราต้องปรับแต่งกันนิดนึง
สำหรับหัวใจการปรับแต่ง จุดเริ่มต้น และจุดจบ อยูที่เดียวกัน(เอ๊ะ...คุ้นๆ) คือที่นี่ครับ
icon wamp สำหรับปรับแต่ง wampหรือ icon ที่อยู่ มุมขวาล่าง ใน taskbar นั่นเอง ให้เอาเม้าส์ไปคลิกเลย จะเจอเมนูดังนี้ครับ
เมนู โปรแกรม wampเราจะมาร่ายแต่ละเมนูโดยละเอียดกันเลยนะครับ เริ่มจาก
1.localhostmenu wamp localhost
เมนูนี้ใช้เพื่อการเปิด หน้า localhost อย่างรวดเร็ว เพราะคลิกแค่ครั้งเดียว ก็จะเปิด internet explorer หรือ Firefox ขึ้นมา พร้อมหน้า localhost ให้ทันที ทำให้เราเปิดหน้าเว็บได้อย่างเร็วขึ้น ไม่ต้องมานั่งจิ้มๆพิมพ์ เดี๋ยวไม่ทันกิน อิๆๆ
2.phpMyAdminmenu wamp phpMyAdmin
ใช้เพื่อการเปิดหน้า phpMyAdmin ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลขึ้นมาทันที ไม่ต้องมาเปิด browser เพื่อนั่งพิมพ์ให้เสียเวลาเลย
3.SQLitemanagermenu wamp SQLitemanager
บางคนอาจจะพึ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรก ว่ามันคืออะไร??? มันคือตัวจัดการ SQL ที่คล้ายกับ MySQLใช้จัดการ SQLi ครับ ทำหน้าที่เดียวกับ phpMyAdmin แต่เราๆท่านๆไม่ได้ใช้กันหรอกครับ
4.www directorymenu wamp www directory
ก็เป็นปุ่มลัด ที่คลิกครั้งเดียว เข้าไปที่ directory root ของเครื่องเราเลยครับ ซึ่งของเดิมหากตอนติดตั้งไม่ได้ปรับค่าอะไร คือที่ C:\\wamp\\www นั่นเอง
5.log file menu wamp log
ก็จะเป็นเมนูเพื่อเรียกดู log file น่ะครับ ว่ามีการทำงานอะไรอย่างไรบ้าง แต่จะเก็บส่วนที่เกิด error เท่านั้นครับเป็น error จากตัว service เท่านั้นนะครับ ไม่เกี่ยวกับerror ที่หน้าเว็บครับ
6.config filemenu wamp config service
ใช้เพื่อการ config ขั้นสูงครับ
7.apache modulemenu wamp select apache module
ใช้ในการ config httpd.conf ในข้อ 6 ด้านบนนั่นล่ะครับ แต่แยกออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน และคลิกเปิดหรือปิดได้ง่ายกว่าเป็นตัวหนังสือเยอะ
สำหรับข้อนี้ ให้เราติ้กถูกเพิ่ม ในหัวข้อ php5_module ครับ(คลิกที่เมนูนี้มันจะแตกย่อยออกมา ถ้าเลือกอยู่แล้วไม่ต้องเลือกซ้ำครับ เพราะว่ามันจะกลายเป็นปิด แต่ถ้ากดเปิดแล้ว ต้องรอมัน restart service สักครู่ด้วยนะครับ)
8.php settingmenu wamp php setting
เป็นการตั้งค่าใน php.ini ของข้อ 6 นั่นเองครับ แต่ทำได้อย่างสะดวกกว่าเยอะเลย เพราะว่าหลายคนที่มีปัญหาเรื่อง register globals นั้น เราก็สามารถสั่งเปิดหรือปิดได้ที่ menu นี้เลยครับ เพียงแค่คลิกเดียวเท่านั้น แต่เราแนะนำให้ปิด หรือไม่เลือก เอาไว้นะครับ เพราะว่า hosting จริงๆส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้นครับ และให้เราเลื่อนลงมาในส่วน PHP Extension ที่จะมีเมนูย่อยออกมาอีก ให้ติ้กถูกที่ php_gd2 นะครับจะเป็นการเปิด function GD 2 ครับและเลือกเปิด short open tag ด้วยครับ
9.alias directoriesตั้ง alias directory
เป็นการชี้ ว่า phpMyadmin SQLitemanager นั้นอยู่ที่ใหนนะครับ ก็ไม่ต้องตั้งค่าอะไร
10.Apacheตัวควบคุม apache
เป็นตัวควบคุม ว่าจะให้ Apache ทำงานหรือไม่ทำงานครับ หากไม่ทำงานเราก็จะเปิดเว็บในรูปแบบ localhost ไม่ได้
11.mysqlmysql service management
เป็นตัวควบคุม ว่าจะให้ mysql ทำงานหรือไม่ทำงานครับ หากไม่ทำงานเราก็จะใช้งานฐานข้อมูล MySQL ไม่ได้
12.start stop restartstart wamp, stop wamp
คือรันหรือหยุดทั้ง Apache และ MySQL เลยในปุ่มเดียว หรือว่า จะสั่ง restart ทั้งสอง service อีกครั้ง
13.put onlineput online ให้เครื่องอื่นเปิดเว็บได้
สั่งให้ online ในอินเตอร์เน็ตหรือไม่ หากไม่เลือก จะเข้าเว็บจากเครื่องอื่นไม่ได้ ใช้งานได้เพียงในเครื่องเท่านั้น เมนูนี้ ไม่แนะนำให้เลือก หากยัง config ส่วนต่างๆไม่ดีพอ เพราะอาจจะโดน hack เอาได้ง่ายๆ และเมื่อเราสั่ง online แล้ว รูป icon จะเปลี่ยนเป็นicon เป็นสีขาวล้วน หมายถึง online
สำหรับการ config เบื้องต้น มีเท่านี้
ต่อมาเราจะมา config ชั้นสูงกัน

1.ปิด MySQL ไม่ให้มีการเข้าถึง root ได้
เนื่องจากของเดิมนั้น จะเข้าถึง root ได้ทันทีโดยไม่มี user pass เราจะมาแก้ไขส่วนนี้กัน เริ่มจาก เลือกเมนูในข้อที่ 2 ด้านบน หรือ phpMyAdmin นั่นเอง แล้วเลือก privileges
เปลี่ยนรหัสผ่าน phpMyAdmin
แล้วคลิกตามรูปเพื่อจะแก้ไข account ของ root
ตั้งรหัสผ่าน root phpMyAdmin
เลื่อนลงมาด้านล่าง แล้วเลือก password แล้วใส่ password ที่เราต้องการทั้งสองช่องให้ตรงกัน แล้วกด go ที่อยู่ข้างๆนั่นเอง
แล้วให้เราเปิดไฟล์ที่ชื่อ config.inc.php ที่อยู่ในแฟ้ม C:\\wamp\\phpmyadmin ขึ้นมานะครับ แล้วแก้ไข $cfg['Servers'][$i]['auth_type'] = 'config'; เป็น $cfg['Servers'][$i]['auth_type'] = 'http'; แล้ว save file จากนั้น ให้เราสั่ง restart mysql ด้วยปุ่มในข้อ 11 หรือ 12 ตามแต่จะเลือก เท่านี้ ก็จะเรียบร้อยครับ
2.การทำให้ phpMyAdmin online ได้
เนื่องจากว่า ของเดิมนั้น หากเปิดจากเครื่องอื่นจะเข้าใช้ phpMyAdmin ไม่ได้ นี่ถือเป็นเรื่องที่ดีนะครับ เพราะว่าจะทำให้มี security สูงครับ เพราะว่า เคยเห็นมาบ่อย คนที่เอาเครื่องตัวเอง บริการ online แต่ปรากฏว่าเข้าได้ถึง phpmyadmin แล้วไม่มีรหัสด้วย ก็คิดเองแล้วกันครับ ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
แต่ถ้าเราต้องการบริการ online เหมือนเราทำ host เองล่ะจะทำอย่างไร ... วิธีนี้ช่วยท่านได้ครับ นั่นคือ ให้เปิด alias phpmyadmin ในข้อที่ 9 ขึ้นมาดังนี้ alias directorie>> http://localhost/phpmyadmin>> edit alias
แล้วสังเกตุ Allow from 127.0.0.1 หากเราต้องการให้บริการ ทุกคนเลย ก็ เปลี่ยนเป็น Allow from all พร้อมลบบรรทัด Deny from all ทิ้งไปนะครับ แล้ว restart mysql ใหม่อีกครั้ง
เท่านี้ ก็จะสามารถเปิดจากเครื่องอื่นได้แล้วนะครับ
3.ลบฐานข้อมูลที่ชื่อ Test ออก 
เมื่อเวลาที่เราติดตั้งเรียบร้อยเราจะเห็นฐานข้อมูลที่ชื่อ Test ขอให้ลบทิ้งไปนะครับ
เท่านี้ เครื่องของเราก็พร้อมจะบริการทั้ง online และ offline แล้วครับ สำหรับใครที่ใช้งาน internet แล้วไม่ได้รับ IP จริงหรือ (Public IP) นั้น จะต้องใช้วิธีการที่เรียกว่า dynamic IP นะครับ (ที่มักจะมีชื่อเรียกว่า no-ip นั่นล่ะครับ)
แล้วหากเมื่อมีโอกาส จะเอามาให้ได้ทดลองทำกันต่อไป
4.แก้ไขให้ MySQL ใช้ภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์
โดยปรกติแล้ว MySQL รุ่นหลังๆมักจะพยายามเปลี่ยนไปใช้ UTF-8 ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาให้พอสมควรสำหรับเว็บสมาสเตอร์มือเก่าๆ ดังนั้นการปรับจุดนี้จะทำให้ MySQL ใช้ภาษาไทยได้อย่างไม่มีปัญหาครับ
ให้เปิดส่วนการแก้ไขไฟล์ my.ini ขึ้นมาครับ ( ในข้อ 6 ด้านบน) แล้ว
ให้ค้นส่วน [client]
port=3306
แล้วใส่เป็นแบบนี้ครับ
[client]
port=3306
default-character-set = tis620
แล้วค้นส่วน
#Path to the database root
datadir=c:/wamp/mysql/data
ให้ใส่เป็นดังนี้ครับ
#Path to the database root
datadir=c:/wamp/mysql/data
default-character-set = tis620
character-set-server = tis620
collation-server = tis620_thai_ci
init_connect = 'SET collation_connection = tis620_thai_ci'
init_connect = 'SET NAMES tis620'
และค้น default-character-set=latin1
ให้ใส่เป็น #default-character-set=latin1
หรือเติมเครื่องหมาย # ไปที่ด้านหน้านั่นล่ะครับ
และค้น default-storage-engine=INNODB
ให้ใส่เป็น default-storage-engine=MYISAM
สำหรับตัวนี้ จะมีการใช้งานที่เหมือน host จริงมากที่สุดนะครับ ยังไงก็ทดสอบกันไปเรื่อยๆนะครับ แต่เท่าที่ผมลองใช้งานเขียนบทความแล้ว มันเยี่ยมครับ ไม่มีปัญหาและทำงานได้รวดเร็วดีครั

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น