วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

e-Learning Project Management

สำหรับใครที่สนใจการบริหารจัดการโครงการพัฒนาสื่อ e-Learning รับรองว่า VDO Clip นี้สามารถให้ไอเดียดี ๆ ได้แน่นอนครับ ใครที่เคยดูแลโครงการพัฒนาสื่อ e-Learning ที่จัดทำภายในองค์กร (หรืออาจจะเป็นบริการที่รับจัดทำสื่อ e-Learning ให้กับลูกค้าภายนอก) ก็จะพบว่าการบริหารจัดการโครงการดังกล่าวนั้น จะมีรายละเอียดแตกต่างกับการบริหารจัดการโครงการ IT อื่น ๆ เพราะว่าตัว e-Learning นั้นจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ รวมกันซึ่งก็คือเรื่องของ Learning กับเรื่องของ IT (หรือเรื่องของ Technology) ซึ่งจะต้องมีการจัดการทั้งสององค์ประกอบให้เหมาะสม
โดยรูปแบบที่จะนำเสนอใน VDO Clip ข้างล่างนี้ จะแบ่งขั้นตอนของการบริหารจัดการโครงการได้ดังนี้ครับ


e-Learning Project Management
  • Planning – การวางแผน ซึ่งตรงนี้ก็จะเหมือนกับโครงการทั่ว ๆ ไปครับ ที่โครงการที่จะประสบความสำเร็จก็ต้องเริ่มจากแผนการที่ดีครับ โดยสิ่งที่เราต้องทำแน่นอนเลยก็คือการทำตารางการทำงาน ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง ใครควรจะทำอะไร ควรจะทำเสร็จเมื่อไหร่ ฯลฯ ซึ่งถ้าทำเสร็จแล้วก็ควรจะส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทำการอนุมัติแผนดังกล่าว
  • Content Gathering and Content Analysis – ทำการรวบรวมเนื้อหาที่ต้องการจะนำมาทำเป็นสื่อ e-Learning โดยเนื้อหาดังกล่าวอาจจะกระจายอยู่ในรูปเอกสารในองค์กรเรา หรืออาจจะเป็นเนื้อหาที่เราต้องไปเสาะแสวงหามาจากข้างนอก หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบที่เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของพนักงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญก็ได้ เมื่อทำการรวบรวมเนื้อหามาแล้วก็ต้องทำการวิเคราะห์เนื้อหาดังกล่าว ว่าตรงไหน หรืออะไรที่เหมาะหรือไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นสื่อ e-Learning
  • Instructional Design – จากนั้นก็ถึงขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้ครับ ที่สำคัญก็คือว่าเราควรจะต้องมีกลยุทธ์การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเนื้อหานั้น ๆ (Instructional Strategy) ให้เหมาะสม ว่าจะต้องทำอย่างไรให้เหมาะกับคนเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราครับ กลยุทธ์ที่ดีจะต้องพิจารณาองค์ประกอบหล่าย ๆ อย่าง อาทิ ผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา เนื้อหาที่จะมาทำเป็นสื่อ สภาพแวดล้อมในการเรียน เทคโนโลยีที่องค์กรเรามีอยู่ รวมถึง IT Infrastructure เช่น Spec ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความเร็ว Internet ฯลฯ
  • Storyboarding – จากนั้นก็ถึงเวลาที่จะเอาเนื้อหาที่เราเตรียมไว้เตรียมมาแปลงเป็นสื่อ e-Learning ครับ แต่ก่อนที่เราจะแปลงหรือจะลงมือพัฒนาสื่อ e-Learning ขึ้นมา เราจะต้องมี Storyboard ซึ่งจะเปรียบเสมือน บทละคร ที่ทำให้รู้ว่าในแต่ละฉากจะต้องมีอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง ซึ่งก็จะช่วยให้เรารู้ว่าในแต่ละเฟรมหรือในแต่ละหน้าของ e-Learning ที่ทำขึ้นมา จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร มี Layout ยังไง เมนูที่ใช้งานอยู่ตรงไหน ขนาดหน้าจอควรจะกว้างเท่าไหร่ มีเสียง มี VDO หรือต้องมี Animation หรือไม่ Storyboard ที่ดีจะช่วยให้ขั้นตอนถัดไปคือการพัฒนา (Development) ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ
  • Development and Production – การพัฒนาและการผลิต พอถึงขั้นตอนนี้ ก็จะเป็นการลงมือผลิตสื่อ e-Learning จริง ๆ แล้วครับ เราก็จะเอาเนื้อหาที่เตรียมมา กลยุทธ์การออกแบบสื่อ ตัว Storyboard ที่เตรียมไว้ นำมาผลิตสื่อ e-Learning โดยอาจจะใช้พวกเครื่องมือผลิตสื่อ (Authoring Tools) ต่าง ๆ ช่วยได้ครับ
  • Quality Assurance – การตรวจสอบคุณภาพสื่อ ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ๆ ครับ เพราะจะเป็นการทดสอบความถูกต้อง ความพร้อมทุกอย่างก่อนที่จะส่งต่อสื่อ e-Learning ตัวนี้ให้กับผู้เรื่อง การตรวจสอบคุณภาพนั้น ถ้าจะให้ดีเราอาจจะทำเป็น Check List ขึ้นมาเพื่อดูว่ามีเรื่องใด หรือหัวข้อใดบ้างที่ต้องตรวจสอบ มาตรฐานที่จะผ่านการทดสอบมีอะไร ใครควรจะเป็นคนตรวจสอบหรือทดสอบสื่อนั้น ๆ
  • Integration & Delivery – การนำไปผนวกเข้ากับระบบที่มีอยู่และทำการส่งมอบให้กับผู้เรียนหรือลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย โดยอาจจะผนวกเข้ากับตัวสินค้าที่เราส่งให้กับลูกค้า (เช่น Training CD สอนการใช้งานสินค้านั้น ๆ) หรือผนวกเข้ากับเว็บไซต์ของบริษัท ถ้าต้องการให้ดูแบบ Online หรือผนวกเข้ากับการเรียนการสอนในห้องเรียน หรือนำไปทำงานอยู่บนระบบ Learning Management System (LMS) ที่เรามีอยู่
ทั้งหมดนี้ก็เป็นไอเดียให้เห็นนะครับว่าจะมีวิธีการบริการจัดการโครงการ e-Learning อย่างไร ซึ่งเราอาจจะต้องปรับให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมขององค์กรเรา และก็จริง ๆ แล้วยังมีอีกหลากหลายวิธีในการบริหารจัดการโครงการพัฒนาสื่อ e-Learning ครับ ถ้ามีโอกาสก็จะนำมาแชร์ให้อ่านกันครับ ยังไงวันนี้ลองไปดู VDO Clip ที่นำเสนอขั้นตอนทั้งหมดตามที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้กันดีกว่าครับ
แล้วพบกันใหม่ครับ ;-)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น