วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

PROJECT MANAGEMENT การบริหารโครงการ

PROJECT MANAGEMENT การบริหารโครงการ
          การบริหารงานโครงการให้ติดตั้งสำเร็จตรงตามกำหนดเวลา ภายในงบประมาณการจัดซื้อ โดยมีความน่าเชื่อถือของระบบสูง สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญในการนำเสนอโครงการสื่อสารโทรคมนาคม ดังนั้นการวางแผนควบคุมการจัดหา จัดส่ง ติดตั้งอุปกรณ์ ทดสอบ ทดลองใช้งาน ส่งมอบระบบให้พร้อมที่จะใช้งาน รวมถึงการรับประกัน ซ่อมบำรุงระบบ บริการหลังการขายเพื่อเป็นหลักประกันในการดูแลรักษาอุปกรณ์และระบบ ตลอดอายุของโครงการ จึงต้องดำเนินการปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วงตลอดระยะเวลาการบริหารโครงการ
         แผนการจัดการโครงการประกอบด้วยรายการและรายละเอียดของงาน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การบริหารงานโครงการติดตั้ง และส่งมอบอุปกรณ์และระบบไว้ใช้งาน และการบริหารโครงการระหว่างอายุการใช้งานอุปกรณ์และระบบ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้



1. การบริหารโครงการติดตั้งและทดสอบส่งมอบระบบ ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
         1.1. การวางแผนออกแบบระบบ ควบคุมการติดตั้ง ทดสอบ ทดลองใช้งาน การส่งมอบตรวจรับอุปกรณ์ และ/หรือระบบ
         1.2. การสั่งซื้ออุปกรณ์ และจัดส่งอุปกรณ์ไปที่สถานที่ติดตั้ง และรับประกันอุปกรณ์ทั้งก่อนและหลังการติดตั้ง
         1.3. การควบคุมทั่วไปในส่วนของงานด้านวิศวกรรม เช่น การแลกเปลี่ยนแบบแปลน ข้อมูลอื่น ๆ การอนุมัติแบบแปลนของอุปกรณ์ และข้อมูลของโครงสร้างของโครงข่าย
         1.4. การฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ และพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีความสามารถใช้งานอุปกรณ์ ระบบในลักษณะของ USER TRAINING
2. การบริหารโครงการในระหว่างการใช้งานระบบ ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
         2.1. การบริหาร ควบคุม การใช้งานของอุปกรณ์และสื่อสาร
         2.2. การตรวจสอบการทำงานของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้เป็นปกติต่อเนื่องโดยตลอด และให้บริการการตรวจซ่อมในกรณีที่อุปกรณ์เสีย หรือนำอุปกรณ์สำรองไปทำการติดตั้งทดแทนใช้งานชั่วคราว
         2.3. การให้บริการซ่อมบำรุงในลักษณะของการป้องกัน Preventive Maintenance โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคทำการตรวจเช็คการทำงานของระบบเป็นระยะๆ เพื่อระวัง ป้องกันการเสียหายของอุปกรณ์ และเป็นการดูแลอุปกรณ์ให้ใช้งานได้เต็มตามประสิทธิภาพของระบบตลอดเวลา
         2.4. ความรับผิดชอบในการให้บริการอื่นๆ
วัตถุประสงค์ของการบริหารโครงการ
วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการบริหารโครงการได้แก่
         1. เพื่อให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์และระบบให้สามารถใช้งานได้สมบูรณ์เสร็จสิ้นตามกำหนดการติดตั้งและส่งมอบที่ได้กำหนดการใช้งานระบบ
         2. เพื่อให้โครงการดำเนินการติดตั้งไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และมีการประสานงานกันระหว่างส่วนงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
         3. เพื่อให้ระบบที่ติดตั้งสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามข้อกำหนดทางด้านเทคนิคและวัตถุประสงค์ของโครงการ
         4. เพื่อควบคุมการทำงาน ผลงาน เวลา และค่าใช้จ่ายของโครงการให้อยู่ในกำหนดแผนการ
         5. เพื่อให้การให้บริการการใช้งานของระบบต่อเนื่อง โดยมีความขัดข้องของระบบน้อยที่สุด หรือสามารถซ่อมแซมแก้ไขระบบ ให้ใช้งานได้โดยเร็วที่สุด หรือเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์สำรองเพื่อให้สามารถใช้งานระบบได้โดยตลอด
         6. การดูแลระบบคลังสำรองอุปกรณ์ และควบคุมทีมบริหารงานซ่อมบำรุงเพื่อสร้างความมั่นใจในการให้การบริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
         7. การให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคที่จำเป็นต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น การอบรมการใช้งานระบบเบื้องต้น USER TRAINING หรืออื่นๆ ตามสมควร

โครงสร้างองค์กร

• ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) ผู้จัดการโครงการ มีหน้าที่ 
         - จัดทำกำหนดการโครงการ ซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดของงาน การตรวจสอบลักษณะทางเทคนิค และการควบคุมค่าใช้จ่ายโครงการ
         - กำหนดทิศทางการดำเนินการทางเทคนิคและหน้าที่การปฏิบัติงานวันต่อวัน
         - จัดโครงสร้างองค์กรและควบคุมการออกแบบระบบ
         - เข้าร่วมการประชุมทางเทคนิคกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้รับผิดชอบโครงการ
         - ประสานงานกับ ลูกค้า เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดการถ่ายทอดข้อมูลอย่างถูกต้อง
         - ติดต่อและประสานงานกับผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถจัดหาและจัดส่งอุปกรณ์ได้ถูกต้องครบถ้วนตามกำหนดระยะเวลา
         - ควบคุมการบริหารงานภายใน การวางแผนจัดสรรกำลังคน กำหนดวิธีการปฏิบัติงาน การเตรียมความพร้อมในการดูแลจัดการปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไข การดูแลควบคุมค่าใช้จ่ายโครงการ เป็นต้น
         - จัดให้มีการประชุมเพื่อรายงานความคืบหน้าของโครงการทั้งในด้านการบริหาร และลักษณะทางเทคนิคของโครงการ รวมถึงการอภิปรายผล การทำงาน กิจกรรมทางเทคนิค การวิเคราะห์ และการทดสอบ ในการปฏิบัติการภาคสนาม
         - การควบคุมการให้บริการในการซ่อมบำรุงรักษาระบบให้ใช้งานได้ต่อเนื่องโดยตลอด
• วิศวกรโครงการ (Project Engineer) 
ได้รับมอบหมายงานจากผู้จัดการโครงการรับผิดชอบในการสั่งซื้ออุปกรณ์และวัสดุต่างๆ ทำการติดตั้งและทดสอบ โดยมีลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
         - จัดทำคุณลักษณะการจัดหาอุปกรณ์
         - สั่งซื้ออุปกรณ์และวัสดุต่าง ๆ
         - จัดทำ Drawing
         - จัดทำแบบแปลนการวางอุปกรณ์
         - จัดทำแผนการทดสอบ ขั้นตอน และการรายงานผล
         - จัดทำคู่มือการติดตั้ง
         - สั่งการ และ/หรือ มีส่วนร่วมในการทดสอบระบบ
         - ประสานงานในการส่งอุปกรณ์
         - สั่งการ และ/หรือ มีส่วนร่วมในการติดตั้งและทดสอบ
• วิศวกรระบบ (System Engineer) 
          วิศวกรระบบจะขึ้นตรงกับผู้จัดการโครงการ รับผิดชอบ ออกแบบระบบ คุณลักษณะของระบบย่อย และแผนการทดสอบ รวมถึงความรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณลักษณะของระบบ
• นักวางแผนโครงการ (Network Planner) 
         มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาว เพื่อรองรับการขยายระบบในอนาคต ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคกับฝ่ายบริหารงาน
• วิศวกรสนาม (Field Engineer) 
          มีหน้าที่รับผิดชอบในการบำรุงรักษาระบบ และให้การบริการตรวจซ่อมกรณีที่ระบบเกิดขัดข้อง
• ผู้ประสานงานโครงการ (Project Coordinator) 
         ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานระหว่าง บ. กับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการของหน่วยงานลูกค้า เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานโครงการ ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างบ.และหน่วยงานลูกค้าช่วยให้งานดำเนินไปอย่างรวดเร็วและราบรื่น

Project Management Plan แผนบริหารโครงการ
         แผนการบริหารโครงการ นี้จะเป็นแม่บทสำหรับทีมงานทั้งหมดของโครงการ ที่จะใช้กำหนดภาระผูกพัน ความต้องการและตัวแปรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโครงการให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีโดย
         1. ศึกษารายละเอียดของโครงการให้ชัดเจน (Project Defined)
         2. เตรียมพื้นฐานของโครงการ (Project Management Principle)
         3. กำหนดแผนของโครงการและการจัดการ (Planning and Organizing Project)
         4. กำหนดการควบคุมดูแลตลอดโครงการ (Controlling Project)
         5. กำหนดกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติในโครงการ (Project Management Discipline)
         6. พัฒนาและประยุกต์โครงการ (Application Development Life Cycle)
         7. จัดหาวิธีการรองรับปัญหาใด ๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการ
การดำเนินงานโครงการ
         เพื่อให้การดำเนินโครงการสำเร็จลุล่วงบรรลุตามวัตถุประสงค์ของทาง ลูกค้า บ. ขอเสนอรายละเอียดแผนการดำเนินงานโครงการทั้งหมดโดยสังเขป ดังต่อไปนี้
         1. การจัดการวางแผนบริหารงานโครงการให้สามารถดำเนินการติดตั้งให้แล้วเสร็จและใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ของทาง ลูกค้า การจัดตั้งทีมงานรับผิดชอบโครงการ อาทิเช่น ผู้จัดการโครงการ ทีมงานวิศวกร เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ และทีมงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับผิดชอบบริหารงานตามแผนการบริหารโครงการที่ได้กำหนดไว้
         2. การสำรวจสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์โดยละเอียด และเสนอแบบการติดตั้งอุปกรณ์ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาอนุมัติแบบ
         3. การจัดเตรียมทีมงานสนับสนุนด้านการดำเนินการประสานงานในการติดต่อประสานงานเจ้าหน้าที่สาขาต่างๆของ ลูกค้า และสถานที่ที่ติดตั้งอุปกรณ์ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
         4. การดำเนินงานสั่งซื้ออุปกรณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การดำเนินการนำเข้าอุปกรณ์ กรรมวิธีสรรพากร การออกของ และการขนส่งอุปกรณ์ที่จะติดตั้งไป ณ สถานที่ติดตั้งอุปกรณ์
         5. การดำเนินการปรับปรุงสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้ง การดำเนินงานติดตั้งอุปกรณ์และระบบ
         6. การดำเนินการทดสอบอุปกรณ์เป็นรายอุปกรณ์ การทดสอบเชื่อมโยงอุปกรณ์ในโครงการนี้ และการทดสอบเชื่อมโยงการทำงานให้เข้ากับระบบ
         7. การจัดการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
         8. การสนับสนุนเอกสารคู่มือประกอบการใช้งาน รวมถึงเอกสารประกอบในการฝึกอบรม
         9. การส่งมอบและรับอุปกรณ์และระบบ
         10. การให้บริการสนับสนุนการใช้งานอุปกรณ์และระบบ รวมถึงการบำรุงรักษา ซ่อมแซมแก้ไข นำอุปกรณ์ทดแทนใช้งานกรณีระบบขัดข้อง และกิจกรรมต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขสัญญาเช่าใช้อุปกรณ์และระบบตลอดอายุของสัญญา
การติดตั้งระบบ
         แผนการติดตั้งออกแบบมาเพื่อให้การติดตั้งสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและให้แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด ฉะนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าการติดตั้งจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เริ่มต้นโครงการมีหลักเกณฑ์ ที่ควรพิจารณาอยู่หลายประการดังนี้
         - ทีมงานติดตั้งจะต้องมีประสบการณ์ในการติดตั้งอุปกรณ์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องมีทักษะในการบริหารโครงการด้วย
         - มีระบบสนับสนุนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
         - มีโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อฝึกฝนทักษะของพนักงาน ทั้งระบบการจัดการ และทักษะทางด้าน เทคนิครวมทั้งเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน
         - การประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างบ.ผู้ผลิต ผู้เกี่ยวข้องในโครงการของบ. และหน่วยงานคู่สัญญา เพื่อให้การติดต่อประสานงาน และการดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว
         - ทีมงานบริการหลังการขาย มีหน้าที่สนับสนุนการบำรุงซ่อมรักษาอุปกรณ์ตลอดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และระบบ
• การติดตั้งอุปกรณ์และระบบ
         ส่วนของการติดตั้งจะประกอบด้วยทีมติดตั้งและ Facility ต่าง ๆ ดังนี้

- ทีมติดตั้ง
          ก่อนเริ่มดำเนินการโครงการ บ. จะจัดเตรียมทีมติดตั้งเพื่อรับผิดชอบการติดตั้งและทดสอบอุปกรณ์ ประกอบด้วยทีมวิศวกรและช่างเทคนิค ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับฝึกฝนมาเป็นอย่างดีและมีประสบการณ์ในการติดตั้งโครงการสื่อสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาก่อน ซึ่งจะทำให้การติดตั้งเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

- เครื่องมือการติดตั้ง
          บ. จะรับผิดชอบในการจัดหา เครื่องมือและเครื่องตรวจวัดที่จำเป็นพื้นฐานในการติดตั้ง

- คู่มือการติดตั้ง
         บ. จะจัดทำเอกสารคู่มือประกอบการติดตั้ง ซึ่งได้อธิบายถึงขบวนการในการติดตั้งอุปกรณ์ อย่างเป็นลำดับ ขั้นตอน เพื่อใช้ประกอบและอ้างอิงในระหว่างการติดตั้ง
• กิจกรรมในการติดตั้ง
         ต่อไปนี้เป็นลำดับกิจกรรมซึ่งจะต้องกระทำในระหว่างการติดตั้ง ซึ่งจะเป็นไปตามแผนการติดตั้ง (Project Schedule)
         - การสำรวจสถานที่ติดตั้ง
         บ. จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคทำการสำรวจสถานที่ที่จะใช้ในการติดตั้ง เพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่จะวางอุปกรณ์ รวมถึง Facilities ต่าง ๆ ที่สถานที่ติดตั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการติดตั้งและจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้ง โดยประสานงานขอความร่วมมือจาก เจ้าหน้าที่และผู้รับผิดชอบที่ประจำอยู่ในแต่ละสถานที่ติดตั้ง ในการอำนวยความสะดวกในเรื่องของกำหนดเวลาเข้าชมสถานที่ติดตั้ง

- การประมาณอุปกรณ์
          ภายหลังจากการสำรวจ บ. จะทำการประมาณอุปกรณ์ที่ต้องใช้และทำรายการอุปกรณ์หลักๆ ออกมาสำหรับแต่ละสถานี เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการทำ Engineering และทำการติดตั้ง

- แผนการติดตั้ง
         แผนการติดตั้ง จะกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมการติดตั้ง มีรายละเอียดการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยในแต่ละขั้นตอนอาจมีอยู่หลายกิจกรรมที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการยาวนาน และมีข้อมูลรายละเอียดภายในกิจกรรมนั้น ๆ อีกที ซึ่งกำหนดเวลาของกิจกรรมย่อย ๆ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลดังนี้

                  - การมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคนในทีมติดตั้ง
                  - วิธีการติดตั้ง ทดสอบ
                  - กำหนดเวลาของแต่ละกิจกรรม
                  - ระดับความรุดหน้าของกิจกรรมที่คาดหวัง
                  - ปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

         - รายการอุปกรณ์ที่สมบูรณ์เรียบร้อย
         ภายหลังการประมาณการอุปกรณ์ที่ต้องใช้ และวางแผนการติดตั้งเรียบร้อย เราสามารถที่จะจัดทำรายการอุปกรณ์ที่สมบูรณ์แบบขึ้นมาได้โดยประกอบกันระหว่างรายละเอียดอุปกรณ์ในสัญญากับข้อมูลที่ได้รับในระหว่างการสำรวจสถานที่ติดตั้ง และข้อมูลในการทำ Engineering และการออกแบบ รายการอุปกรณ์
         - Software Engineering
          การจัดเตรียมSystem Software และ Application Software สำหรับระบบทั้งหมด ระบบ Software ทั้งหมดโดยมากจะมีลักษณะเป็น package ฉะนั้นอาจจะมีการปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้ เหมาะสมกับระบบ และมีประสิทธิภาพสูงสุด
          - การจัดหาอุปกรณ์ และ จัดซื้ออุปกรณ์
         ภายหลังจากจัดทำรายการอุปกรณ์ที่สมบูรณ์เรียบร้อย บ. จะเริ่มจัดหาและ ตระเตรียมอุปกรณ์ ทั้งหมดโดยในส่วนของอุปกรณ์หลัก และอื่น ๆ จะถูกจัดซื้อไว้ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เพื่อให้ทันการติดตั้ง และในส่วนของอุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง จะถูกจัดซื้อและจัดหาจากภายในประเทศ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการจัดซื้อและการส่งของ
         - การจัดส่งอุปกรณ์
         เมื่ออุปกรณ์ที่สั่งซื้อผลิตเสร็จสิ้นก็จะถูกจัดส่งมาที่คลังสินค้าของบ. ก่อน ทั้งอุปกรณ์ที่ซื้อจาก ภายนอกประเทศและภายในประเทศ เพื่อจัดแบ่งสำหรับที่จะติดตั้งต่อไป
          - การติดตั้งอุปกรณ์
          เมื่ออุปกรณ์ที่จะใช้ในการติดตั้งถูกจัดส่งมาเรียบร้อยครบถ้วน และสถานที่พร้อมที่จะใช้ในการติดตั้ง อุปกรณ์จะถูกดำเนินการติดตั้ง โดยเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญการโดยเฉพาะ เพื่อทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบของ ลูกค้า
         - การทดสอบ
         เมื่อดำเนินการติดตั้งแล้ว จะต้องทำการทดสอบ Application ทุกอย่างที่ถูกออกแบบให้ใช้งานบนอุปกรณ์นั้นจนสามารถทำงานได้สมบูรณ์ ทุก Application
         - ส่งมอบระบบ
          ภายหลังจากการติดตั้งอุปกรณ์และระบบจนแล้วเสร็จบ. จะเตรียมการทดลองใช้งานเชื่อมต่ออุปกรณ์ และทดสอบระบบก่อนที่ทำการใช้งานระบบจริงต่อไป
          - รายนามวิศวกรควบคุมและติดตั้งระบบ
         ในระหว่างการดำเนินการติดตั้งระบบ ตลอดจนถึงการบำรุงรักษาระบบ ตลอดอายุการใช้งานของโครงการจะดูแลรับผิดชอบโดยวิศวกรที่มีประสบการณ์ในการติดตั้งระบบ

การฝึกอบรมบุคลากร
• การฝึกอบรม 
         บ. จัดการฝึกอบรมอุปกรณ์และระบบให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการทำงานของอุปกรณ์และระบบในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเป็นไปในลักษณะของ User Training การจัดการฝึกอบรมประกอบด้วยการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มีรายละเอียดดังนี้

• กรรมวิธีการฝึกอบรม (Training Methodology) 
การฝึกอบรมจะเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบและเข้าใจว่าหลังสิ้นสุดการฝึกอบรมจะสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปปฏิบัติงานได้มากน้อยเพียงใด

         การฝึกอบรมจะทำเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์และระบบเบื้องต้นการแสดงให้เห็นภาพระบบรวมและระบบย่อยต่างๆ ที่เชื่อมเป็นระบบ โดย หลักสูตรการฝึกอบรมจะประกอบด้วยการอบรมให้ความรู้พื้นฐานระบบสื่อสาร และระบบเครือข่ายการสอนทางไกลที่นำเสนอเบื้องต้น ก่อนที่เข้าสู่เนื้อหารายละเอียดของแต่ละอุปกรณ์ที่นำเสนอ และการใช้งานอุปกรณ์เป็นระบบ โดยเนื้อหาทั้งหมดจะครอบคลุมถึงในระดับการใช้งานควบคุมอุปกรณ์เบื้องต้นเท่านั้น ไม่รวมถึงการซ่อมแซมแก้ไข บำรุงรักษาอุปกรณ์และระบบ การเรียนรู้ภาคทฤษฎีนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงานก่อนที่จะได้จับต้องอุปกรณ์ระบบจริง

• วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม มีดังนี้คือ 
         - เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานสามารถปฏิบัติงานและให้ความสนับสนุนความต้องการตลอดจน การบริหารโครงการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
         - เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการถ่ายทอดความรู้ความสามารถให้เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานสามารถจัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ใหม่ที่เกี่ยวข้องในภายหลัง

• สมมุติฐานในการจัดทำการฝึกอบรม คือ 
         - การฝึกอบรมจัดขึ้นภายในกรุงเทพมหานคร
         - เจ้าหน้าที่ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมควรจะเป็นผู้ที่มีพื้นฐานความรู้เรื่องของระบบบ้าง เพื่อสามารถเกิดความเข้าใจในการเรียนการสอนได้อย่างรวดเร็ว
         - เจ้าหน้าที่จะเข้าการฝึกอบรมจะถูกสมมติว่าไม่เคยมีประสบกรณ์ในเรื่องของอุปกรณ์และระบบ
         - บ. จะจัดเอกสารฝึกอบรมให้กับผู้เข้าฝึกอบรมทุกคน

• ช่วงเวลาของการฝึกอบรม (Timing of Training) 
         - ตารางเวลากำหนดรายการการฝึกอบรมจะถูกกำหนดสำหรับแต่ละ Course ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับการ ส่งมอบงานและการติดตั้งของอุปกรณ์และส่วนประกอบอื่น ๆ โดยจะคำนึงถึงว่า เมื่อระบบที่กำหนดสามารถทำงานได้ ผู้รับการฝึกอบรมสามารถปฏิบัติงานได้ทันที

• การปฏิบัติงานจริง 
         - จัดตั้งทีมฝึกอบรมโดยกำหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคนอย่างละเอียด กำหนดแผนการฝึกอบรม ขั้นตอนการฝึกอบรม วัตถุประสงค์ และสิ่งที่ได้รับจากการฝึกอบรม
         - เตรียมรายการสำหรับการฝึกอบรมของแต่ละกลุ่มรวมทั้ง On-the-Job Training
         - จัดเตรียมคู่มือและวิธีการในการฝึกอบรม
         - ออกแบบและจัดหาเอกสารประกอบสำหรับการอบรมรวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ
         - ควบคุมการฝึกอบรมให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
         - จัดตั้งระบบฐานข้อมูลสำหรับการฝึกอบรม
         - จัดการฝึกอบรมทั้งด้านการจัดการและการบริหาร

• ทรัพยากรที่ต้องการ 
         - ทีมงานที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญทางด้านทฤษฎี และปฎิบัติในเรื่องของการบริหาร การพัฒนาการเขียนแผนงาน และการเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ประกอบในเรื่องของการฝึกอบรม
         - อุปกรณ์สำหรับอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

• รายละเอียดของวิชาที่จะเปิดอบรม 
         การเปิดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ทางบ. คำนึงถึงมากที่สุดในการฝึกอบรมคือทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่สามารถฝึกอบรมเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง ที่เข้ามาภายหลังเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อนี้ บ. จึงขอเสนอแนวทางดังนี้ คือ

         - สร้างความรู้และความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับการฝึกอบรมในแต่ละขั้นตอน
         - เน้นให้เจ้าหน้าที่นำความรู้ที่ได้มาปรับเข้ากับการปฎิบัติงานจริง ทั้งด้านการบริหารและ การจัดการ ก่อนที่จะมีการส่งมอบความรับผิดชอบของการอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่เหล่านั้น
         - รวมทั้งการเน้นให้เจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของผู้ที่จะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่อื่นต่อไปข้าร่วมรับ การอบรมทุกครั้งและอย่างใกล้ชิด สามารถรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ตามที่ กำหนด เน้นการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
         - โดยกำหนดหัวข้อการฝึกอบรม ในการดูแลเครือข่าย ดังนี้
                  1. ความรู้พื้นฐานด้านการสื่อสาร
                  2. ความรู้พื้นฐานและวิธีปฎิบัติสำหรับการบริหารเครือข่าย

                           - Performance Management
                           - Fault Management
                           - Diagnostic และ Trouble shooting
การบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขระบบ
         การบำรุงรักษา ซ่อมบำรุงอุปกรณ์และระบบ มีความจำเป็นต่อการทำงานของระบบให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพของระบบสูงตลอดอายุการใช้งาน ด้วยเหตุนี้แผนการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไข จักต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่การติดตั้งอุปกรณ์แล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยภายหลังจากการติดตั้งและทดสอบใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้ว อุปกรณ์ดังกล่าวยังคงต้องใช้งานต่อเนื่องอีกเป็นเวลาหลายปี แต่เนื่องด้วยอุปกรณ์เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง ประสิทธิภาพ และคุณภาพของการทำงานของอุปกรณ์และระบบจะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามอายุการใช้งาน ดังนั้นการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี และกระทำต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งาน ย่อมจะทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานยาวนานขึ้นตามไปด้วย
         การบำรุงรักษาการทำงานของอุปกรณ์และระบบในกรณีที่เกิดการขัดข้องของระบบ หรืออุปกรณ์ซึ่งมีผลให้ระบบ หรืออุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้นั้น เจ้าหน้าที่ของ ลูกค้า สามารถแจ้งความชำรุดบกพร่องของอุปกรณ์หรือระบบได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยบ. จะจัดเตรียมบุคลากรและทีมงานในการบำรุงรักษาอุปกรณ์และระบบไว้ ณ สำนักงานใหญ่ และศูนย์บริการทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถให้บริการให้คำแนะนำปรึกษา ตลอดจนการเข้าไปดูแลซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสียหายได้อย่างรวดเร็ว และทันท่วงที โดยบ. จะจัดทีมงานซึ่งทำหน้าที่ในส่วนของการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่นำเสนอโดยเฉพาะ เพื่อการดูแลและให้บริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด หากระบบ เกิดการชำรุดบกพร่องหรือขัดข้องเนื่องมาจากการใช้งานปกติ บ. จะจัดการซ่อมแซมแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีดังเดิม
บ. ตระหนักถึงความจำเป็นของการมีระบบการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขที่ดี และมีประสิทธิภาพด้วยความรวดเร็ว โดยมีขอเสนอแนวทาง และวิธีการบำรุงรักษาดังนี้
• Network Management 
         การดูแลจัดการ ตรวจสอบ ควบคุมระบบ บ. จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 2 ท่าน ประจำอยู่ที่ทางลูกค้าตลอดเวลาทำการเพื่อทำการตรวจสอบและจัดทำบันทึกการตรวจซ่อม และจัดทำรายงานการบำรุงรักษา/ซ่อมแซม ส่งให้ลูกค้าเป็นรายเดือน โดยสามารถแสดงรายงานของ

         - สถานะของเครือข่ายในขณะนั้น
         - สถิติของ Error ที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายนั้น
         - สถิติของ Traffic บนเครือข่ายนั้น
         - การจัดเก็บและจัดพิมพ์รายงานของสถิติต่างๆย้อนหลังได้อย่างน้อย 12 เดือน
         - และ อื่นๆ

• Preventive Maintenance
          การบำรุงรักษาระบบแบบป้องกันความเสียหายของระบบล่วงหน้า บ. จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ของบ. ที่มีความชำนาญการในระบบไปทำการตรวจสอบอุปกรณ์และระบบ เพื่อทดสอบ, ปรับแต่ง และป้องกันการเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีผลให้อุปกรณ์หรือระบบนั้นหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง ความจำเป็นในการบำรุงรักษาแบบป้องกันนั้น เป็นเพราะว่าปัญหาทางเทคนิคส่วนใหญ่จะไม่ใช่การชำรุดอย่างถาวร แต่จะเป็นการเสื่อมประสิทธิภาพของการทำงาน (Function in degraded mode) และลักษณะดี ๆ เสีย ๆ (Intermittent) ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของบ. จะถูกส่งไปตามสถานีต่าง ๆ เพื่อทำการตรวจเช็คอุปกรณ์และระบบเป็นประจำ ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะมีผลทำให้เกิดความคุ้นเคยกับแนวโน้มในการชำรุดเสียหาย และอาการของอุปกรณ์ใช้งานที่มีลักษณะเสื่อมประสิทธิภาพ เพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขเสียก่อนที่อุปกรณ์จะชำรุดเสียหาย และหยุดทำงานลงโดยสิ้นเชิง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบได้ บ. จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจสอบระบบ ทุกจุดที่ติดตั้งอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ระบบ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา โดยทำการบำรุงรักษาที่ไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติงานของระบบ

• การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective Maintenance)
         การบำรุงรักษาแบบแก้ไข เป็นการบำรุงรักษาอุปกรณ์อันเนื่องมาจากอุปกรณ์เกิดชำรุดเสียหาย หรือทำงานบกพร่อง เมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของลูกค้า ตรวจสอบพบว่าอุปกรณ์เกิดชำรุดเสียหาย หรือทำงานบกพร่อง ในเวลาทำการ สามารถแจ้งได้ที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของบ.ที่ประจำการอยู่ที่ทางลูกค้า และหลังจากเจ้าหน้าที่เทคนิคเกี่ยวข้องได้รับแจ้งแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบและทำการแก้ไขทำให้ระบบและอุปกรณ์สามารถใช้งานได้ดังเดิมโดยเร็ว เพื่อทำให้ระบบของลูกค้าสามารถทำงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดย


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น